ถังดับเพลิงที่เหมาะจะใช้ในบ้าน

 

ถังดับเพลิงที่เหมาะจะใช้ในบ้าน ก่อนอื่นต้องมาดูประเภทของเพลิงที่ใหม้ก่อน

เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles)  เพลิงไหม้ class A มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า ขยะ พลาสติก กระดาษ ซึ่งเพลิงประเภท A สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า

เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เพลิงไหม้ class B มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวที่สามารถติดไฟ และก๊าซที่สามารถติดไฟได้  โดยของเหลวที่สามารถติดไฟมักมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าซ ที่สามารถพบได้ตามปั๊มน้ำมัน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และโรงงานที่ผลิตสีบางชนิด โดยเพลิงประเภท B สามารถดับได้ด้วยการตัดออกซิเจนในอากาศ      

เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เพลิงไหม้ class C มีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความร้อนสูง หากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าจัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้ โดยเพลิงไหม้ประเภท C จำเป็นต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิงทุกครั้ง      

เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เพลิงไหม้ class D มีสาเหตุมาจากโลหะที่สามารถติดไฟได้ ที่สามารถพบได้ตามห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง และโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโลหะ เช่น Titanium, Aluminum, Potassium และ Magnesium เป็นต้น โดยเพลิงประเภท D ไม่สามารถดับเพลิงได้ด้วยน้ำเปล่า     

เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking) เพลิงไหม้ประเภทนี้มีสาเหตุมาจากน้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ของเหลวที่ใช้ประกอบอาหาร สามารถพบได้ตามห้องครัว ร้านอาหาร หรือห้องอาหารตามโรงแรม เป็นต้น ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) ข้างในถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจะบรรจุผงเคมีแห้ง และอัดก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติในการระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้ได้ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นฝุ่นผงเคมี ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งส่วนใหญ่ตัวถังจะมีสีแดง โดยถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ถือเป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ได้หลายประเภท ถังดับเพลิงชนิดนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A, B และ C และเหมาะกับการใช้ภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม      

ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers)  ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ Water Extinguishers ภายในถังจะบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซ ตัวถังมักเป็นสีฟ้า หรือ สีเงิน อาจจะทำให้สับสนกับถังดับเพลิงชนิดโฟม ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อใน ถังดับเพลิงประเภทนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A ได้ จึงเหมาะกับภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย  

ถังดับเพลิงสูตรน้ำ (Low Pressure Water Mist) ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงสูตรละอองน้ำแรงดันต่ำ PurePlus ถังดับเพลิงชนิดนี้พิเศษกว่าถังดับเพลิงชนิดน้ำ สามารถดับเพลิงไหม้ได้มากถึง 4 ประเภท ได้แก่ เพลิงไหม้ประเภท A, B, C และ K ภายในถังบรรจุน้ำสิทธิ์สูง และน้ำ PurePlus ที่มีคุณสมบัติในการดึงความร้อนออกจากเชื้อเพลิงได้เร็วกว่าการใช้น้ำปกติ ทำให้อุณหภูมิความร้อนลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้าและน้ำยา PurePlus สามารถยับยั้งกระบวนการ Pyrolysis ของเชื้อเพลิง คุณสมบัติพิเศษของถังดับเพลิงสูตรน้ำ คือสามารถช่วยป้องกันการปะทุของเพลิงไหม้ซ้ำ เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ที่ อาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และสถานที่ทั่วไป

ขนาดของถังดับเพลิงชนิดมือถือมีหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่และการใช้งาน มีตั้งแต่ขนาด ถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์, 5 ปอนด์, 10 ปอนด์, 15 ปอนด์, 20 ปอนด์, 50 ปอนด์ และ 110 ปอนด์ 

ถังดับเพลิงในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สี ได้แก่ ถังดับเพลิงสีแดง สีเขียว สีฟ้า สีเงิน และสีเหลือง โดยแต่ละสีมีคุณสมบัติ ดังนี้   

1. ถังดับเพลิงสีแดง ถังดับเพลิงสีแดงเป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยม และสามารถพบได้ทั่วไปตามอาคาร บ้านพัก และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ถังดับเพลิงสีแดง คือ ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) และ ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งถังดับเพลิงทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติในการดับเพลิงและสถานที่ใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้     
• ถังดับเพลิงชนิดผงเคมี เหมาะสำหรับติดตั้งทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกอาคาร      
• ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงงาน และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์        
 
2. ถังดับเพลิงสีเขียว ถังดับเพลิงสีเขียว คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคาร ห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเมื่อฉีดออกมาสารเคมีจะระเหยไปในอากาศจะไม่ทิ้งคราบตกค้าง ช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาด และที่สำคัญถังดับเพลิงสีเขียวไม่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน       
 
3. ถังดับเพลิงสีน้ำเงินหรือสีฟ้า ถังดับเพลิงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน คือ ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงชนิดละอองน้ำแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับติดตั้งภายในบ้านพัก อาคารสำนักงาน ทั้งนี้นอกจากถังดับเพลิงสูตรน้ำแล้ว บางยี่ห้อถังดับเพลิงสีฟ้าอาจจะคือถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยที่มีส่วนประกอบของ HCFC-123 ด้วย       
 
4. ถังดับเพลิงสีเงิน ถังดับเพลิงสีเงิน คือ ถังดับเพลิงชนิดโฟม โดยตัวถังจะเป็นสแตนเลส เนื่องจากภายในถังบรรจุน้ำที่เป็นส่วนประกอบหลัก AR-AFFF เหมาะสำหรับติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน  ข้อควรระวังของถังดับเพลิงชนิดโฟม คือ ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เพราะโฟมเป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า       
 
5. ถังดับเพลิงสีขาว ถังดับเพลิงสีขาว คือ ถังดับเพลิงที่บรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate เหมาะสำหรับติดตั้งในร้านอาหาร โรงอาหาร ห้องครัว เป็นต้น       
 
6. ถังดับเพลิงสีเหลือง ถังดับเพลิงสีเหลือง คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ที่มีส่วนผสมของสารฮาโลตรอน (Halotron) ที่มีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง แต่มีข้อเสียเนื่องจากสารฮาโลตรอนเป็นสาร CFC ที่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้ในปัจจุบันถูกระงับการจำหน่าย และเปลี่ยนมาใช้ถังดับเพลิงสีเขียวแทน  
 

วิธีการใช้ถังดับเพลิง ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากมีเพียงแค่ ดึง ปลด กด และส่าย โดยมีรายละเอียดวิธีใช้ถังดับเพลง ดังนี้      เข้าไปทางเหนือลม โดยเว้นระยะห่างจากเพลิงไหม้ประมาณ 2 -3 เมตร และดึงสลักออกจากถังดับเพลิง หากไม่สามารถดึงสลักออกได้ ให้ใช้การบิดช่วย ปลดสายฉีดของถังดับเพลิงออก และยกหัวฉีดชี้ไปที่ฐานของเพลิง โดยทำมุมประมาณ 45 องศา      กดคันบีบของถังดับเพลิงเพื่อให้สารเคมีที่บรรจุภายในถังพุ่งออกมา ส่ายปลายหัวฉีดไปมาที่ฐานเพลิงไหม้ ไม่แนะนำให้ฉีดบริเวณเปลวเพลิง         

 

 

Visitors: 104,708