ถังดับเพลิงประเภท K
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ตัวถังดับเพลิงนั้นจะเป็นสีแดงทั้งนี้เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย และติดตั้งไว้เป็นระยะห่างๆ กันภายในอาคาร หรือตามเสา ซึ่งจะมีตู้เก็บ ซึ่งเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้ใช้สามารถหิ้วถังจากจุดติดตั้งมาใช้ในบริเวณที่เกิดไฟไหม้ได้ ด้วยการดึงสลักนิรภัยออก แล้วจับสายฉีดให้ปลายหันเข้าหาเปลวไฟ และบีบไก น้ำหรือสารเคมีที่อยู่ภายในถังก็จะพุ่งตรงไปยังบริเวณที่ไฟไหม้ การดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของสารดับเพลิงซึ่งบรรจุอยู่ในถัง
ถังดับเพลิง wet chemical (ดับไฟ class k) ถังดับเพลิง wet chemical class k ภายในถังจะบรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate สำหรับใช้ดับเพลิงประเภท K หรือเพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ไขมันสัตว์ ถังดับเพลิงประเภทนี้จึงเหมาะกับการดับเพลิงในครัว ร้านอาหาร โรงอาหาร เป็นต้น
ไฟประเภท K (Class “K”)เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากคราบน้ำมันหมูน้ำมันพืชหรือในปล่องระบายควันในห้องครัว
ชนิดสูตรเคมีน้ำ เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้
ประเภทของถังดับเพลิงเนื่องจากสารที่บรรจุในถังดับเพลิงแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน การใช้งานจึงแตกต่างกันด้วย ดังนั้นควรเลือกถังดับเพลิงให้ถูกประเภทและเหมาะสมกับการใช้งาน ถังดับเพลิงแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ในถังจะบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นไอเย็นจัด คล้ายกับน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนของเพลิงไหม้ได้ ตัวถังจะมีสีแดง สามารถดับเพลิงไหม้ประเภท B และ C ได้ ถังดับเพลิง Co2 จึงเหมาะสำหรับดับเพลิงในโรงงานขนาดใหญ่ โรงอาหาร และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) ในถังดับเพลิงจะบรรจุผงเคมีแห้ง และอัดก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติในการระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้ได้ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นฝุ่นผงเคมี ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ตัวถังจะมีสีแดง โดยถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง เป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ได้หลายประเภท ถังดับเพลิงชนิดนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A, B และ C และเหมาะกับการใช้ภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม
3. ถังดับเพลิงชนิดโฟม (Foam Extinguishers) ในถังจะบรรจุน้ำผสมโฟมเข้มข้น AR AFFF เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นฟองโฟม ปกคลุมเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ ทำให้เพลิงขาดออกซิเจน ทำให้ไฟดับได้ ตัวถังมักมีสีเงิน และหัวฉีดยาวกว่าหัวฉีดถังดับเพลิงประเภทอื่นๆ ถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A และ B จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน ถังดับเพลิงชนิดโฟม ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ คือไฟไหม้เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถนำไฟฟ้าได้
4. ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers) ในถังจะบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซ ตัวถังจะเป็นสีฟ้า หรือ สีเงิน ซึ่งมีสีคล้ายถังดับเพลิงชนิดโฟม ถังดับเพลิงประเภทนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A ได้ จึงเหมาะกับภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย
5. ถังดับเพลิงสูตรน้ำ (Low Pressure Water Mist) ถังดับเพลิงชนิดนี้พิเศษกว่าถังดับเพลิงชนิดน้ำ สามารถดับเพลิงไหม้ได้มากถึง 4 ประเภท ได้แก่ เพลิงไหม้ประเภท A, B, C และ K ภายในถังบรรจุน้ำยาดับเพลิงสูตร Low Pressure Water Mist สามารถปกคลุมเชื้อเพลิงได้ดี และน้ำ Pure Plus ที่มีคุณสมบัติในการดึงความร้อนออกจากเชื้อเพลิงได้เร็วกว่าการใช้น้ำปกติ ทำให้อุณหภูมิความร้อนลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า และ น้ำยา Pure Plus สามารถยับยั้งกระบวนการปะทุของเพลิงไหม้ซ้ำ เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ที่ อาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และสถานที่ทั่วไป
6. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) ในถังจะบรรจุสารฮาโลตรอน (Halotron) หรือสาร HFC-236fa (FE-36) ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้สาร HFC-236fa มากกว่าเนื่องจากมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับสารฮาโลตรอน ไม่ทิ้งคราบตกค้าง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ตัวถังจะเป็นสีเขียว เพื่อเป็นการบอกว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A, B, C จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูง หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรือ เครื่องบิน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ถังดับเพลิงประเภท A คือ ไฟไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก
ถังดับเพลิงประเภท B คือ ไฟไหม้ที่เกดในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
ถังดับเพลิงประเภท C คือ ไฟไหม้เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
ถังดับเพลิงประเภท D คือ ไฟไหม้วัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น ไททาเนียม แมกนีเซียมสำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย
ถังดับเพลิงประเภท K คือ ไฟไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
-
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
-
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
-
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
-
-
ถังดับเพลิงคือถังที่ภายในมีแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ ตัวถังด้านนอกจะมีมือจับลักษณะเป็นไกบีบเปิดปิด มีสลักนิรภัยและสายฉีด มีไว้สำหรับใช้ดับเพลิงในขณะที่ไฟเริ่มไหม้ ...
-
-
-
บริการรับออกแบบและติดตั้งระบบดับเพลิง ระบบป้องกันอัคคีภัย รับออกแบบ, ติดตั้ง,ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาระบบป้องกันอัคคีภัย ทั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำ ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซ และระบบแจ้งเต...
-
-
-
ระบบป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคารต่าง ๆ กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงต้องมีข้อกำหนดสำหรับการป้องกันอัคคีภัย ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาดแต่ใน อาคารพั...
-